การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์

การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ เป็นการแต่งคำประพันธ์ของไทยที่ง่ายที่สุด เพราะมีเพียงการบังคับจำนวนคำ เสียง และสัมผัส เท่านั้น ไม่มีบังคับครุ ลหุ เหมือนคำประพันธ์ประเภทฉันท์ คำประพันธ์ประเภทกาพย์จึงเป็นที่นิยมแต่งกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และนิยมแต่งร่วมกับคำประพันธ์ประเภทฉันท์ เพราะมีเสียงไพเราะ

วรรณคดีประเภทกาพย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ กาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลงเสด็จประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) และกาพย์เรื่องพระไยสุริยาของสุนทรภู่ ซึ่งสมัยต้นรัตนโกสินทร์ใช้เป็นแบบฝึกอานการสะกดคำในมาตราตัวสะกดต่าง ๆ และกำหนดให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนในปัจจุบัน


ลักษณะข้อบังคับของร้อยกรองประเภทกาพย์ มีดังนี้

1) คณะ หมายถึง จำนวนที่กำหนดใน 1 บทว่ามีกี่วรรค วรรคละกี่คำ ตัวเลขท้ายชื่อกาพย์

บอกว่าในหนึ่งบทนั้นมีจำนวนคำกี่คำ เช่น ยานี 11 หนึ่งบท มี 11 คำ ฉบัง 16 หนึ่งบท มี 16 คำ สุรางคนางค์ 28 หนึ่งบท มี 28 คำ

2) เสียง หมายถึง ข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์ กาพย์แต่ละชนิดจะมีข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์แตกต่างกันซึ่งวรรณยุกต์บางเสียงทำให้กาพย์บางชนิดมีความไพเราะ หรือคำสุดท้ายของวรรคในกาพย์บางชนิดควรหลีกเลี่ยงการใช้วรรณยุกต์บางเสียง

3) สัมผัส หมายถึง ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน ประกอบด้วยสัมผัสในและสัมผัสนอก ดังนี้

สัมผัสใน เป็นสัมผัสที่อยู่ภายในวรรค ช่วยให้บทร้อยกรองมีความไพเราะ ซึ่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์จะไม่บังคับใช้สัมผัสใน

สัมผัสนอก เป็นสัมผัสนอกรรรคหรือสัมผัสระหว่างวรรค ตลอดจนสัมผัสระหว่างบทโดยกาพย์แต่ละขนิดมีการบังคับสัมผัสที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในบทหนึ่ง คำท้ายวรรคจะส่งสัมผัสรับกับคำใดคำหนึ่งในวรรคต่อไป โดยบังคับให้ต้องใช้รรณยุกต์รูปใด เสียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับกาพย์แต่ละชนิด